มาสู่เส้นทาง Novice ด้าน PL/SQL กันต่อนะครับ
คราวนี้ผมจะพาลง Coding กันเลยแล้วกัน (ตัดบทเกินไปมั้ย = =)
*** สำหรับผู้ที่ยังไม่เข้าใจเรื่อง Datatype ให้อ่านที่นี่ ***
http://docs.oracle.com/cd/B28359_01/appdev.111/b28370/datatypes.htm#i46029
http://docs.oracle.com/cd/B28359_01/appdev.111/b28370/datatypes.htm#i46029
ผมลงมือเขียนเขียนแล้วได้ดังรูป แล้วผมจะอธิบายที่ละรูปๆ นะครับ
รูป 1 |
1. จากรูปที่ 1 แสดงผลเป็นข้อความธรรมดาครับ (ข้อสังเกตคือหากไม่มีการใช้งานตัวแปรเลย เราไม่จำเป้นต้องมี declare)
รูป 2 |
2. จากรูปที่ 2 คราวนี้จะสังเกตได้ว่ามี Declare เพิ่มขึ้นและมีการประกาศตัวแปรชื่อว่า say ที่มีค่าว่างๆ ชนิด varchar2 ขนาด 50 ตัวอักษรรอไว้
จากนั้นจึงมากำหนด ประโยคข้อความ ลงในตัวแปรชื่อว่า say ว่า Hello Novice
จากนั้ันก็ให้แสดงผลข้อความโดย อ้างอิงจาก ชื่อตัวแปรแทนครับ ซึ่งผลก็จะออกมาไม่ต่างกัน
จากนั้นจึงมากำหนด ประโยคข้อความ ลงในตัวแปรชื่อว่า say ว่า Hello Novice
จากนั้ันก็ให้แสดงผลข้อความโดย อ้างอิงจาก ชื่อตัวแปรแทนครับ ซึ่งผลก็จะออกมาไม่ต่างกัน
รูปที่ 3 |
3. รูปที่ 3 เป็นการระบุค่าลงไปในตัวแปร ตั้งแต่ขั้นตอนประกาศตัวแปรเลยครับ (ในขั้นตอน declare)
รูปที่ 4 |
4. รูปที่ 4 ผมพยายามจะอธิบาย สองส่วนครับ
ส่วนแรก คือการประกาศตัวแปร say3 ที่มีการกำหนดค่าไว้แล้ว และ say4 ที่มีการระบุค่าในภายหลัง (หลังจากเริ่มกระบวนการ) ซึ่งก็ได้ผลเหมือนกันครับ
ส่วนที่สอง ก็คือการแสดงผลตัวแปรหลายๆตัว พร้อมกัน โดยใช้ " || " ขั้นกลางไว้ครับ
รูปที่ 5 |
5. จากรูปที่ 5 คราวนี้ผมอยากลองเปลี่ยนไปใช้ ตัวแปรชนิดอื่นดูบ้าง ผมเลยลองกับ number และให้มันการดำเนินการก่อนแสดงผลไปด้วยเลย แล้วแสดงผลครับ
เสริมนิดนึงครับ ในเรื่อง operation เช่นการ บวกลบคูณหาร และยกกำลัง จะใช้คำสั่งดังนี้ครับ
- การบวก (+) ให้ใช้ + เลยครับ เช่น 5 + 5 ก็จะได้ 10
- การลบ ( - ) ให้ใช้ - ครับ เช่น 10 - 5 ก็จะได้ 5
- การคูณ ( x ) ให้ใช้ * ครับ เช่น 5*5 ก็จะได้ 25
- การหาร ( / ) ให้ใช้ / ครับ เช่น 10/2 ก็จะได้ 5
- การยกกำลัง ให้ใช้ ** ครับ เช่น 5**2 ก็จะได้ 25
จะเห็นว่า PL/SQL ก็มีความยืดหยุ่นกว่าตัวภาษา SQL เพียวๆอยู่หลายขุมเลยนะครับ
ภาคต่อไปเราจะมาลองเล่นกับ condition พวก if else ดูบ้างนะครับ
ภาคต่อไปเราจะมาลองเล่นกับ condition พวก if else ดูบ้างนะครับ
0 ความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น